เตรียมตัวก่อนเป็นช่าง 3-2

อุปกรณ์เสริม
หลังจากที่ได้แนะนำวิธีการแยกแยะไปแล้ว มาถึงทริคพื้นฐานในการลงมือซ่อมจริงว่า การเปิดประตูแรกจริงๆเช็คอย่างไร ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึงอุปกรณ์เพิ่มเติมที่จำเป็นเป็นตัวช่วยในการซ่อมก่อน คือ หลอดไฟ (หลอดกลมขนาด 60w-100w) เอามาทำไม?  ขอตอบว่า มีประโยชน์สองอย่าง คือ เป็นโหลดทดสอบและไว้สำหรับดิสชาร์ตไฟ

โหลดทดสอบ ในการซ่อมเราเอาหลอดไฟแทนฟิวส์หรือแทนฮอร์เอาท์พุตได้ เนื่องจากเราต้องทำการตรวจเช็คภาคจ่ายไฟให้สามารถทำงานได้ก่อน แล้วจึงซ่อมภาคอื่นต่อไป(เปิดประตูแรกคือ เรื่องแหล่งจ่ายไฟ) แล้วมันแทนฟิวส์เพื่ออะไร?  มาดูตัวอย่าง



ดูภาพประกอบนะครับ รูป A. แสดงถึงภาวะปกติของระบบไฟ RL ก็แทนภาคจ่ายไฟหลักซึ่งเหมือนกับโหลดตัวหนึ่ง เมื่อใด RL ช๊อตขึ้นมา ฟิวส์ก็ขาดทันที แต่ถ้าเอาหลอดไฟแทนฟิวส์ดังรูป B. เมื่อใดภาคจ่ายไฟช๊อตขึ้นมา ก็จะเป็นดังรูปC. ทันที เมื่อRL ลัดวงจร RL หายไปทันที แต่โชคดีที่มีหลอดไฟเป็นโหลดแทน หลอดไฟก็ติดทันทีถ้าภาคจ่ายไฟของเรายังช๊อตอยู่ระหว่างการซ่อม ผู้ซ่อมก็ตรวจหาต่อไป
แต่ต้องเข้าใจนะครับว่าช่วงเปิดสวิตช์ไฟครั้งแรก หลอดไฟจะติดก่อนแล้วแสงก็จะหลี่ลงตามขนาดภาคจ่ายไฟ ทีวีขนาด 14"-20" ใช้หลอด 50-60W ทีวีขนาด 25"-30" ใช้ 100w  และอีกข้อหนึ่งอย่าสับสนนะครับหลอดไฟไม่ได้ป้องกันอุปกรณ์บางอย่างพัง นะครับถึงแม้ว่ามันจะเป็นโหลดแทนภาคจ่ายไฟได้ก็ตาม สรุปแล้วคือ ขณะซ่อมภาคจ่ายไฟหลัก ควรต่อหลอดไฟแทนฟิวส์และแทนโหลดเอาท์พุต(ฮอร์เอาท์) ก่อนจ่ายไฟทดสอบภาคจ่ายไฟทุกครั้ง จนกว่าจะแน่ใจว่าภาคจ่ายไฟหลักทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาและตรวจซ่อมภาคอื่นจนเรียบร้อยแล้ว



 ดิสชาร์ต ในการซ่อมทีวี ต้องมีการดิสชาร์ตไฟแน่นอน ตอนไหน? ตอนที่การตรวจของทีวีที่ยังไม่เสร็จ และยังไม่สามารถทำงานได้ปกติ ไฟจะยังคงตกค้างในวงจรอยู่และสามารถทำอันตรายต่ออุปกรณ์และผู้ซ่อมได้ ต้องขอบอกไว้ตรงนี้ว่าถ้าใครไม่รู้ถึงข้อนี้ ความหายนะรอท่านอยู่ 100% แต่ถ้าท่านมีไว้ ความหายนะก็ลดลง 80%(โดยประมาณ)อีก20%เกี่ยวกับการตรวจเช็คไม่ทั่วถึง ตัวอย่างเช่น ภาคจ่ายไฟหลักไม่จ่าย สะอึก อาการนี้จะมีไฟค้างในตัวเก็บประจุที่เก็บไฟ +300v หากไม่ดิสชาร์ต แล้วทำการตรวจซ่อม มี3อย่างเกิดขึ้นแน่นอน คือ 1.อุปกรณ์ประเภทโซลิทสเตทชอร์ต 2.มิเตอร์ไหม้ 3.ผู้ซ่อมโดนไฟชอร์ตหงายเงิบ
วิธีดิสชาร์ตก็คือใช้หลอดไฟต่อขั้วเป็นสายยาวพอประมาณ เวลาดิสชาร์ตก็ใช้สายทั้งสองแตะที่ขั้วของตัวเก็บประจุที่มีค่าสูงๆสัก10-15 วินาทีโดยประมาณ และถ้ารอบคอบก็ใช้มิเตอร์วัดไฟดูด้วยว่ามีไฟตกค้างอยู่หรือไม่ ให้ดิสชาร์ตในส่วนที่ต้องการตรวจเช็คและถอดอุปกรณ์โดยเฉพาะส่วนที่มีไฟเลี้ยงมีค่าสูง


วิธีวัดโหลดช๊อตขั้นต้น

ก่อนจบบทนี้ขอกล่าวถึงวิธีเช็คว่า ทำอย่างไรให้รู้ว่า ไลน์ไฟไหนมีโหลดช๊อต สำหรับคนเริ่มต้นเรื่องเล็กน้อยนี้บางท่านอาจยังไม่ทราบ



ทุกวงจรจ่ายไฟในทีวี ส่วนใหญ่ จะเป็นดังรูปตัวอย่าง แต่ถึงจะไม่ใช้วงจรดังตัวอย่างการวัดก็เหมือนกัน  ให้ปรับมิเตอร์ไปที่ย่านวัดโอห์ม X1 แล้วให้ทำการวัดที่จุด AและB(วัดคร่อม C ฟิลเตอร์) โดยวัดสองครั้งและสลับขั้วมิเตอร์ของท่านวัดที่จุด A,B
โดยหากวงจรปกติ เข็มของมิเตอร์ของท่านจะต้องชี้ที่ประมาณเลข 5-6 โอห์มหนึ่งครั้ง อีกครั้งจะต้องไม่ขึ้น(เข็มจะกระดิกขึ้นสวิงตามค่าตัวเก็บประจุฟิลเตอร์แล้วค่อยๆลดลงจนเป็นอนันต์หรือตามค่าโหลดRL) ซึ่งถ้าขึ้นสองครั้งและมีค่าโอห์มต่ำมากถึง0โอห์ม หมายถึง วงจรในไลน์ไฟนั้นช๊อตนั่นเอง และตัวอุปกรณ์ที่สมควรเช็คก่อนใครก็คือ Df หรือไดโอดเร็กติไฟนั่นเอง และไล่ไปเรื่อยจนกว่าจะเจอ


บทความถัดไป >>  เตรียมตัวก่อนเป็นช่าง 4